วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556



พรรณไม้ในโรงเรียนโนนสูงศรีธานี


ปาล์มขวด



ตำบลโนนสูง    อำเภอโนนสูง
จังหวัดนครราชสีมา
เขตพื้นที่มัธยมศึกษานครราชสีมาเขต  31
ปาล์มขวด

http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea regia (H.B.K.) Cook

http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 ชื่อวงศ์ : Palmae

http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 ชื่อสามัญ : Royal palm, Cuban royal palm

http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 ชื่อพื้นเมือง : -


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ชนิดพืช [Plant Type] : ปาล์มต้นเดี่ยว


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 25 เมตร


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 สีดอก [Flower Color] : สีขาวครีม เป็นมัน


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : -


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : เร็ว


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ลักษณะนิสัย [Habitat] : ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet04.gif
 ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง


http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet04.gif
 แสง [Light] : แสงแดดจัด

http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :  ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นคอดใกล้โคนและป่องกลาง ลำต้นขนาด 50 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่สีเทา เห็นข้อปล้องชัดเจน คอสีเขียวเข้มและยาวถึง 1 เมตร
http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนก  เรียงสลับ  ใบย่อยรูปขอบขนาน  กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ
90 เซนติเมตร   ปลายใบเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา  แตกออก 2 ทิศทางห้อยโค้งลงจึงเห็นเป็นพวง
ใหญ่ โคนกาบใบสีเขียวห่อลำต้นไว้ ก้านใบย่อยเป็นสันคม
http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ดอก (Flower) :    สีขาวครีมเป็นมัน   ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ   ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น
ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร
http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet03.gif
 ผล (Fruit) :    ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว   ติดผลจำนวนมาก  ทรงกระบอกค่อนข้างป้อม ปลายแคบแหลม
ขนาด 0.8-1.3 เซนติเมตร  ผลแก่สีน้ำตาลอมม่วง
http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกในที่กว้าง เช่น สวนสาธารณะ ริมทางเดิน ถนน
ริมทะเล   ไม่ควรปลูกใกล้บ้านเพราะใบใหญ่เมื่อร่วงลงทำให้หลังคาเสียหาย และรากทำลายโครงสร้างสิ่งก่อสร้าง
ได้ ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น
http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/Image/ButtonMenu/images/Bullet02.gif
 ประโยชน์ :  ยอดอ่อนรับประทานได้คล้ายยอดมะพร้าว ผลใช้เลี้ยงหมู

ประวัติของต้นปาล์ม

ปาล์ม เป็นภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ทับศัพท์เรียกว่า ปาล์มจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ปาล์ม..... ปลูกได้ในทุกฤดู ซึ่งสกุลของปาล์มจะมีประมาณ 4000 กว่าชนิด ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น คนไทยส่วนใหญ่จึงคิดว่าต้นปาล์มเป็นพันธุ์ไม้ที่นำมาจากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ทราบ พืชที่อยู่ในวงศ์ PALMAE นั้นมีจำนวนมากในประเทศไทย แต่คนไทยไม่ได้เรียกว่าปาล์ม เช่น มะพร้าว, ตาล, ลาน, หมาก, จาก, กะพ้อ, ค้อ ฯลฯ ในขณะเดียวกันมีต้นไม้วงศ์ PLAMAE หลายชนิดที่นำเข้ามาปลูกในบ้านเราคนไทยจึงตั้งชื่อเรียกเป็นภาษาไทยเพื่อง่ายต่อการจดจำ เช่น ตาลแดง (Latanialontaroides) ตาลฟ้า (Bismarckianobikis) หมากนวล (Veitchiamerrilli) มะพร้าวแคระ (Syagrusschizophylla) ซึ่งต้นไม้ที่กล่าวมาล้วนเป็นพันธุ์ปาล์มทั้งสิ้น
ปาล์ม.....เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลใหญ่มากตระกูลหนึ่งที่มนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์มากเป็นอันดับสองรองจากพืชตระกูลหญ้าจะเห็นได้จาก
ถ้าปีใดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือมีเห็นภัยต่าง ๆ เกิดขึ้น คนโบราณจะพูดเสมอ ๆ ว่า ปีนี้ข้าวจะยากหมากจะแพง มนุษย์ในภาคพื้นเอเชียนั้นได้อาศัยผลประโยชน์จากส่วนต่างๆของปาล์มอย่างมากมายที่สุด นับตั้งแต่อาหาร, ที่อยู่อาศัย, เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ดังนั้น ถ้ากล่าวคำว่า ปาล์มคือพืชในวงศ์ปาล์ม (Genus Paim) เป็นพืชที่มีลักษณะเด่นนำมาสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

พันธุ์ไม้วงศ์ปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ปาล์มมีหลายชนิด้วยกัน บ้างเป็นพุ่ม บ้างเป็นต้น และเป็นไม้เลื้อย เมล็ดเมื่องอก มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว ลำต้น มีเพียงยอดเดียว และไม่แตกต่างกิ่งก้านสาขา มีใบขนาดใหญ่แผ่นใบรูปฝ่ามือหรือรูปขนนกมีกาบและก้านใบชัดเจนและใบมักออกเป็นกลุ่มใหม่ ที่ปลายยอดลำต้น ใบอ่อนในระยะแรกรวมกันเป็น แท่งยาวคล้ายฟักดาบ ช่อดอกมีกาบหุ้ม การออกดอกในระยะแรกเรียกว่าแทงจั่น เมล็ดในระยะงอกส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเมล็ดจะขยายโตขึ้น เรียกว่า จาวซึ่งเนื้อจะค่อยๆ สลายไป


การขยายพันธุ์ปาล์ม
การขยายพันธุ์ปาล์ม ทั่ว ๆ ไปมีการขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ ใช้เมล็ดเพาะ และแยกหน่อจากต้นเดิมทั้งนี้ก็เพราะปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ยืนต้นไม่มีเปลือกและเนื้อไม้ที่มีเนื้อเยื่อเจริญให้รากแตกออกได้ดังนั้นการขยายพันธุ์ของปาล์มจึงใช้เมล็ดเป็นเครื่องขยายพันธุ์และอาจใช้หน่อที่แตกออกจากต้นแม่เป็นการขยายพันธุ์ก็ได้ 2 วิธี
1.  การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อการขยายพันธุ์ปาล์มโดยวิธีนี้จะทำได้เฉพาะแต่ปาล์มชนิดที่มีหน่อเท่านั้น เช่นหมากเขียว หมากเหลือง หมากแดง ยูเทเฟ้ จั๋ง ปาล์ม ไผ่ เป็นต้นซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้
•  เลือกหน่อที่เชื่อแน่ได้ว่า หน่อนั้นมีรากแล้วอย่างน้อย 3 ราก
•  ควรใช้วิธีตัดตาทิ้งไว้กับต้นแม่สักระยะหนึ่งประมาณ30 วัน จากนั้นจึงแยกปลูกลงกระถางหรือที่ ๆ ต้องการปลูกพึงระวังอย่าให้ถูกแสงแดดจัดในระยะแรก
•  ถ้าจะขุดแยกทีเดียวควรนำปลูกในกระถางในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้วัสดุชำควรจะใช้ทรายผสมกับถ่านแกลบในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน แล้วเก็บไว้ในร่ม
2.   การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด คือ การนำเมล็ดปาล์มที่เห็นว่าแก่ดีแล้วมาเพาะขยายพันธ์โดยการปฏิบัติดังนี้
•  นำเมล็ดพันธ์ที่เก็บจากต้นแกะเปลือกออกล้างเมล็ดให้สะอาด(มีปาล์มบางชนิดที่สัมผัสกับผิวหนังแล้วจะคัน)ผึ่งไว้ให้แห้งในที่ ๆ มีความชื้นน้อย ๆ อย่านำตกแดดโดยเด็ดขาด
•  ก่อนนำไปเพาะพิจารณาดูว่าปาล์มชนิดใดเปลือกหนาและแข็งแรงมากน้อยอย่างไรถ้าเปลือกแข็งมากให้นำเมล็ดปาล์มนั้นแช่น้ำเสียก่อนอย่างน้อย 5-10 วัน จึงนำไปเพาะถ้าเป็นเมล็ดเก่าเมื่อแช่น้ำจะมีเมล็ดส่วนหนึ่งลอยน้ำ แสดงว่าคุณภาพไม่ดีควรทิ้งไป
•  ส่วนผสมของเครื่องเพาะ โดยทั่วไปจะใช้ทรายหยาบและถ่านแกลบอย่างละเท่า ๆ กันจะแยกกระถางหรือถุงเพาะหรือจะเพาะลงในภาชนะรวมเลยก็ได้การงอกวิธีเพาะรวมจะมีประสิทธิภาพดีกว่าเพราะมีการแผ่ความร้อนสู่เมล็ดซึ่งกันและกัน
•  การวางเมล็ดจะวางลอยหรือให้ลึกในส่วนผสมของวัสดุเพาะประมาณ1-2 ซม. การวางเมล็ดให้จมเมื่อปาล์มงอกจะมีความแข็งแรงกว่า
•  ก่อนทำการเพาะควรจะได้คุกยาฆ่าเชื้อราเสียก่อน
•  เมื่อปาลืมงอกดีแล้วควรแยกขณะที่ใบเลี้ยงโผล่จากวัสดุเพาะสัก 1-2 นิ้ว และพึงระวังอย่าให้เมล็ดหลุดขณะที่ปาล์มกำลังกินอาหารที่อยู่ในเมล็ดถ้าหลุดก็จะตาย
•  ในวิธีการหนึ่ง คือ การเพาะในถุงพลาสติกโดยใช้ขุยมะพร้าว ปิดปากถึงให้แน่นและแขวนไว้เมื่อมันงอกก็จะมองเห็นรากสีขาวโผล่ออกมา จึงนำลงไปปลูกในกระถางได้
•  ปาล์มที่เปลือกแข็งมาก ๆบางครั้งต้องนำไปใส่น้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 30 ก่อนทำการเพาะ
•  เมื่อเพาะเมล็ดเรียบร้อยแล้วให้นำไปวางตั้งไว้ในร่มรำไรไม่ควรให้ถูกฝนจะทำให้เมล็ดเน่าได้ง่าย






ประโยชน์ของปาล์ม
1.  อาหารจากปาล์มในการประกอบอาหารส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันที่ผลิตจากผลของปาล์ม มะพร้าวให้กะทิ และน้ำมันน้ำตาลจากมะพร้าว ตาลจากอินทผลัม แป้งจากสาคู และลูกชิด ฯลฯ
2.  ที่อยู่อาศัย โดยใช้ส่วนต่างๆของปาล์มมาเป็นที่อยู่อาศัยก่อนพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น การนำใบจากมามุ้งหลังคาต้นมาหมาก ต้นเหลา ซะโอนใช้ทำเสาบ้านเรือน ต้นมะพร้าวทำพื้น และฝาบ้านนอกจากนี้ยังใช้หวายผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
3.  เครื่องนุ่งห่มปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่มผลของปาล์มนำมาเป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสงปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้เช่นกัน
4.  ยารักษาโรคปาล์มหลายชนิดสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อาจจะใช้ในรูปที่สกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมันยาไทยโบราณหลายชนิดใช้หลากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก แก้ร้อนในเนื้อในของหมากใช้สมานแผล แก้ท้องร่วง ใบหมากแก้ไขน้ำมะพร้าวเป็นยาบำรุงครรภ์และใช้ถอนพิษเบื่อเมาน้ำมันมะพร้าวผสมและปรุงยาและน้ำมันนวดแก้ฟกซ้ำ รักษาบาดแผลและฝีแขนงช่อดอกของตางตัวผู้หรือเรียกว่าวงศ์ตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้ตาลขโมย เป็นต้น
5.  การใช้ปาลืมเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ นั้นเนื่องจำปาล์มมีลักษณะให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความรู้สึกของผู้ใช้และผู้พบเห็นมีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อยรูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสันจึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม ซึ่งมักจะมีต้นปาล์มเข้าไปเป็นส่วนประกอบที่เพิ่มความงดงามอยู่เสมอนอกจากนั้นปาล์มยังสามรถนำมาปลูกในกระถางแล้วนำไปวางประดับภายในอาคารใช้เป็นไม้ในร่มได้เป็นอย่างดีมีลีลาที่สวยงามไม่แพ้ไม้ประดับในร่มชนิดอื่น ๆ เช่นกัน 







  
ศัตรูของปาล์ม
ปาล์มก็เป็นพันธุ์ไม้ที่มีศัตรูต่างๆมากมายเช่นเดียวกับพันธุ์ไม้ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะปาล์มที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก มนุษย์สนใจและพบว่าปาล์มชนิดนั้นๆมีศัตรูมากมาย ปาล์มอาจถูกศัตรูทำลายได้ตั้งแต่แรกเกิดจากเมล็ดเป็นต้นอ่อน จนต้นโตถูกศัตรูทำลาย ลำต้น ใบ ดอก และผล ศัตรูที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มนั้นมีมากมายทั้งโรคแมลงและสัตว์อื่นๆ เช่น หนู ลิง นกบางชนิด ฯลฯ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นศัตรูใหญ่ๆ 3 จำพวกด้วยกันคือ
1. พวกโรคซึ่งมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราและโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และโรคที่มีสาเหตุอื่นๆโรคที่เกิดจากพวก Parasiticและ saprophytic organisms เช่น
เชื้อราที่ทำให้เกิดการเน่า
โรคนี้จะเกิดกับปาล์มพวก Arecastrumromanzoffianum, มะพร้าว, Phoenix sylvestris, Serenoarepens, Phoenix canariensis, sabal palmetto, Arikutyrobaschizophylla, และหมากสง อาการของโรคคือต้นปาล์มจะชะงักงันการเจริญเติบโตใบร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วก็แห้งตายแล้วก็ค่อยๆ กินกับใบอื่นๆ ต่อไปใบยอดจะสั้นลง จะมีอาการอยู่ประมาณเป็นเดือนหรือปีๆ แล้วในที่สุดก็ตายโรคนี้แผ่ขยายเร็วมาก ถ้าเกิดแก่มะพร้าวผลได้ของมะพร้าวจะลดลงทันทีน้ำมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและน้ำเหนียวขันขึ้นเชื้อราจะมี spore สามารถปลิวไปตามลม การป้องกันโรคนี้ทำได้ยากถ้าหากว่าเชื้อรานี้เกิดแก่ต้นปาล์ม ก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น วิธีการป้องกันถ้าหากทราบว่าโรคนี้ได้ระบาดกับปาล์มแล้ว ก็ป้องกันต้นอื่นๆโดยใช้ผงกำมะถันโรยบนดินรอบๆ ต้นปาล์ม ต้นที่เป็นแล้วให้เผาทำลาย
โรคลำต้นเน่า
ส่วนมากเกิดแก่พวก Washingtoniaใบปาล์มจะเน่าตายภายใน 3 เดือน นับจากใบที่อยู่ชิดกับต้นไม้ไปสู่ปลายใบถ้าเกิดแก่พวกกล้าปาล์ม จะเน่าตายภายใน 10 วันจะเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสูงๆ
โรค Canker
เกิดขึ้นแก่ลำต้นปาล์มพวก Arecastrum, เกิดจากเชื้อราพวก nematodes โรคนี้ทำให้เกิดเน่าที่กาบใบ และทำให้เกิดเน่าที่ตายอด
โรค Red ring
เกิดแก่มะพร้าว เกิดจากไส้เดือน Aphelenchoidescocophilusเช่นพวกnenatodesเกิดแก่ปาล์มที่ต้นยังเล็กอยู่อาการที่เกิดขึ้นทำให้ขอของลำต้นมีสีแดงน้ำตาล การป้องกันทำลาย เผาต้นที่เกิดโรคนี้และหาทางป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน
2. พวกแมลง มีแมลงหลายสิบชนิดทั้งแมลงตัวโตและแมลงตัวเล็กๆ ที่มองเกือบไม่เห็นด้วยตาเปล่ามีแมลงหลายสิบชนิดที่เป็นอันตรายแก่ต้นปาล์ม อาจทำให้ปาล์มแคระแกรนไม่เจริญเติบโตได้แก่
• เพลี้ยหอยหรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์มและดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอกและผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้นถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลืองและในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย วิธีการป้องกัน กำจัดนั้นก็คือใช้ยาฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ยาที่ฉีดกำจัดเพลี้ยหอยนั้นก็คือ พวกน้ำมัน Oil emulsion
• เพลี้ยแป้งลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้งเป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกันวีธีการป้องกันกำจัดใช้วิธีเดียวกับการป้องกันเพลี้ยหอย
• เพลี้ยอ่อน มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งคือตัวมันจะขับถ่ายสารละลายลักษณะขี้ผึ้งสีขาวออกมารอบๆ ตัวเป็นสีขาวๆ เมื่อนานๆเข้าก็จะกลายเป็นสีดำฉาบอยู่ตามผิวหน้าส่วนของปาล์มที่ถูกเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงการป้องกันกำจัดนั้นใช้ยาพาราไทออน
• พวกหนอนม้วนใบเป็นพวกแมลงปากกัด ทำลายใบในลักษณะเป็นตัวหนอนกัดกินใบมีหลายชนิดด้วยกันจะกินใบหมดเหลือแต่เส้นแกนกลางใบเท่านั้น
• พวกผีเสี้อกลางคืน มี 2 ชนิดด้วยกันที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มคือ
B.mathesoniกัดกินยอดมะพร้าวอ่อนๆกัดกินในผล ทำให้ผลร่วงก่อนถึงกำหนดยาที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ใช้ในระยะที่เป็นตัวหนอนกำลังกัดกินส่วนต่างๆของปาล์ม เช่นสารหนู ตะกั่ว
• พวกหนอนปลอกเป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบโดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
• พวกด้วงปีกแข็งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจพวกหนึ่งที่ทำให้ปาล์มตายได้ วีธีการป้องกันก็คือจัดสวนให้สะอาด อย่าไม้มีท่อนไม้ ตอไม้ตายเก่าๆ อยู่ใกล้เคียงยาที่ใช้กำจัดแมลงพวกนี้คือพวก เบ็นชินเฮกศ่คลอไรด์
• พวกด้วงงวงพวกนี้เกิดแก่ พวก Sabalและปาล์มพวก Phoenix Canariensis, มะพร้าวการทำลายจะเห็นได้ชัดที่ใบอ่อนที่ยอดหักพับแตกกระจายลงวีธีการป้องกันโดยทำความสะอาดสวน ไม่ปล่อยให้มีตอไม้ ท่อนไม้ผุๆ หญ้ารกๆพบตัวอ่อนทำลายเสีย คนไทยใช้วิธีป้องกันมะพร้าวจากด้วงชนิดนี้โดยใช้ทรายผสมกับเกลือ โรยตามคอกาบใบของมะพร้าว
• พวกมวนเกิดแก่ปาล์มขวด ลักษณะปีกใสบางมีเส้นคล้ายร่างแห การป้องกันใช้พ่นด้วยยาคลอเดน
• พวกปลวกเกิดแก่ลำต้นปาล์มที่แก่ๆ และมีเปลือกผุตายแล้ว วิธีป้องกัน คือพยายามบำรุงปาล์มให้เจริญเติบโตแข็งแรง สะอาด และอาจใชัยาออลดรินฉีดพ่น
• พวกเพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อนของปาล์ม โดยเฉพาะพวกปาล์มขวดจะทำให้ใบเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และน้ำตาล ในที่สุดก็แห้งตายวิธีการป้องกัน ฉีดด้วยยาดีลดรินในรูปสารละลายปนน้ำมันหรือพ่นเป็นยาผง
• พวกไรส่วนมากเกิดแก่ปาล์มขวด โดยเฉพาะที่ใบอ่อน จะทำให้ตายในที่สุด วิธีป้องกัน คือใช้กำมะถันผงพ่นแห้ง หรือเป็นน้ำก็ได้
• พวกตั๊กแตนเป็นศัตรูที่ร้ายกาจอย่างหนึ่งของปาล์ม โดยเฉพาะปาล์มที่ยังมีขนาดเล็ก ถ้าหากมีมากๆจะกัดกินใบขาดและหมดแม้แต่แกนกลางใบก็หมด กัดกินตลอดทั้ง 24 ช.ม. วิธีการป้องกันฉีดยาพ่นตามใบ หรือใช้เหยื่อพิษล่อ
3. พวกศัตรูอื่นๆ ได้แก่
หมูป่าในต่างจังหวัดนั้นการปลูกมะพร้าวมักจะถูกหมูป่าเข้ามาขุดคุ้ยกัดกินต้นมะพร้าวที่อ่อนๆเสียหาย
กระรอกทำลายมะพร้าวให้เสียหายอย่างมากโดยเจาะรูตามกาบใบและเจาะผลมะพร้าวกินเนื้อภายใน
การป้องกันหมูป่านั้นอาจทำกับดักหรือมีลวดล้อมรอบโคนต้น ป้องกันกระรอก ใช้ปลอกสังกะสีหุ้มลำต้น
กิ้งก่ามาทำรังในกระถางออกไข่ ออกลูกแล้วกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน
หนูบ้านเป็นศัตรูชนิดหนึ่งที่ชอบขโมยเมล็ดปาล์มที่เพาะไว้ไปกิน














  ชื่อสมาชิก 
1.  นางสาวเบญจพร  นาดีด่านกลาง   .5/4  เลขที่  10
2.  นางสาววันวิสา     สังข์กลาง        .5/4  เลขที่  14
3.  นางสาวศรศิณีย์    แท่นกระโทก    .5/4  เลขที่  15
4.  นางสาวศิวภรณ์    ประสมศรี       .5/4  เลขที่  16
5.   นางสาวสุกัญญา  คล่องใจ         .5/4  เลขที่  17
6.   นางสาวอัจฉรา    มะสูงเนิน        .5/4  เลขที่  21
7.  นางสาวกาญจนา  ทุ่งกลาง         .5/4  เลขที่  36